จากหลายเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้น ทำให้รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเราแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น เหตุกราดยิงที่เกิดขึ้นในห้างสรรพสินค้าบ่อยครั้ง เป็นเหตุที่สร้างทั้งความสูญเสียและสร้างความหวาดระแวงให้กับผู้คนเป็นจำนวนมาก ต่อให้ระวังตัวมากแค่ไหนและอยู่ในพื้นที่ที่มีผู้คนเยอะแค่ไหน เหตุร้ายเช่นนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ แต่หากเรียนรู้ วิธีเอาตัวรอดจากเหตุกราดยิงเอาไว้ อย่างน้อยหากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น ก็จะสามารถช่วยให้คุณปลอดภัยได้
ในการเตรียมรับมือกับเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัว ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการเอาตัวรอดเอาไว้ก่อน เพื่อที่หากเกิดเหตุจริงจะไม่ตื่นตระหนกและตั้งรับได้ทัน โดย 3 วิธีเอาตัวรอดจากเหตุกราดยิง ที่ทาง AEG ได้นำเอามาฝากในวันนี้ เป็นข้อมูลที่อ้างอิงจาก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในเหตุกราดยิงมีขั้นตอนการเอาตัวรอด ดังนี้
การเอาตัวรอดขั้นตอนแรกที่จะต้องทำโดยเร็ว คือ การหลบหนี หากเกิดเหตุร้ายเกิดขึ้นที่บริเวณใกล้ตัว จะต้องรีบหนีออกจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ตามจะต้องจดจำทางเข้าและทางออกเอาไว้อย่างแม่นยำ ในการหลบหนีจากที่เกิดเหตุให้หลีกเลี่ยงเส้นทางคับแคบ ทิ้งสัมภาระที่อาจทำให้หลบหนีไม่คล่องตัว และที่สำคัญจะต้องมีสติอยู่เสมอ หากประเมินสถานการณ์และประเมินร่างกายของตัวเองว่าแข็งแรงดี หากเป็นไปได้ควรให้ความช่วยเหลือผู้คนรอบข้างในการหลบหนีด้วยเช่นเดียวกัน
ในกรณีที่เกิดเหตุร้ายเกิดขึ้นและไม่สามารถที่จะหลบหนีได้ ควรที่จะรีบหาที่หลบซ่อนโดยเร็ว และในการหลบซ่อนคนร้ายจะต้องปิดไฟมืด ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดที่อาจทำให้เกิดเสียง หากบริเวณที่ทำการหลบซ่อนมีประตูหรือหน้าต่างให้ทำการปิดม่านและล็อกประตูหน้าต่างอย่างแน่นหนา วิธีเอาตัวรอดจากเหตุกราดยิง ในการหลบซ่อนให้พยายามหลีกเลี่ยงที่อับปิดตาย หากมีบุคคลอื่นหลบซ่อนอยู่ด้วย ให้พยายามกระจายพื้นที่หลบซ่อนให้ได้มากที่สุด และเมื่ออยู่ที่พื้นที่ปลอดภัยแล้วให้หาวิธีขอความช่วยเหลือโดยไม่ใช้เสียง ยกตัวอย่างเช่น การขอความช่วยเหลือผ่านทาง SMS เป็นต้น
วิธีเอาตัวรอดจากเหตุกราดยิงสุดท้าย เป็นวิธีที่ควรหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด แต่หากอยู่ในสถานการณ์คับขันที่ไม่สามารถหนีหรือซ่อนได้ทัน ให้รวบรวมสติและกำลังทั้งหมดที่มีต่อสู้กับคนร้าย โดยพยายามมองหาจุดบอดของผู้ก่อเหตุ หากอยู่รวมกลุ่มกันให้ร่วมมือกันต่อสู้ ทำให้คนร้ายบาดเจ็บมากที่สุด และท่องเอาไว้ว่าการร้องอ้อนวอนขอชีวิตไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ เนื่องจากการร้องขอชีวิตมักไม่เป็นผล และอาจกระตุ้นให้ผู้ก่อเหตุตื่นตัวมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
หากตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และสามารถที่จะพาพื้นที่หลบซ่อนที่มีความปลอดภัยและมิดชิดได้เรียบร้อยแล้ว สามารถที่จะทำการติดต่อเพื่อขอความช่วยเหลือ ผ่านทางเบอร์ฉุกเฉินอย่างเช่น 191 และ 1669 ในกรณีที่ไม่สามารถใช้เสียงได้หรือหลีกเลี่ยงการใช้เสียง สามารถขอความช่วยเหลือผ่านทางแอปพลิเคชัน จส. 100 เพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉินและติดต่อขอความช่วยเหลือ
ทั้งหมดนี้คือ วิธีเอาตัวรอดจากเหตุกราดยิง ที่อย่างน้อยทุกคนควรที่จะต้องเตรียมตัวเอาไว้ หากในวันข้างหน้าเกิดเหตุร้ายเกิดขึ้น หรือเกิดเหตุการณ์จริงเกิดขึ้นกับตนเองหรือคนรอบข้าง อย่างน้อยการทำความเข้าใจถึงวิธีการเอาตัวรอดเอาไว้ล่วงหน้า จะทำให้ไม่ตื่นตกใจในสถานการณ์นั้นและจะช่วยให้ปลอดภัยได้ ในสถานการณ์ร้ายที่เกิดขึ้น “สติ” ถือเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดในการรับมือ และเป็นสิ่งที่ไม่ควรขาด นอกเหนือไปจากการเตรียมความพร้อมรับมือกับเหตุกราดยิงแล้ว ควรที่จะเสริมทักษะการเอาชีวิตรอดจากเหตุการณ์ต่าง ๆ เอาไว้ อย่างเช่น การเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ไฟไหม้, การเอาตัวรอดจากการติดอยู่ในรถ หรือการเอาตัวรอดจากภัยพิบัติ เนื่องจากยามคับขันหรือยามเกิดเหตุ ความหวังของการมีชีวิตรอดที่เชื่อมั่นได้มากที่สุด คือ การพึ่งพาตัวเอง และให้ความสำคัญกับระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประกาศหรือแนะนำไว้ในพื้นที่ดังกล่าว