EN | TH | CN

รู้จักกับเทคโนโลยี Biometric Authentication

ปัจจุบัน เรียกได้ว่าเทคโนโลยี ระบบ Biometric บอกได้เลยว่าเข้ามามีบทบาทอันสำคัญ ที่เทียบเท่ากับการใช้งานภายในองค์กร และตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งได้มีการนำไปปรับใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้ผู้ผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับ Biometric จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตอุปกรณ์ที่มีความเกี่ยวข้อง เพื่อทำให้ใช้งานได้ง่าย และมีความทันสมัย ตอบโจทย์ทุกการทำงาน มีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ

เทคโนโลยี Biometric Authentication คืออะไร

Biometric Authentication คือ เทคโนโลยีที่ได้มีการนำเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางชีวภาพ และข้อมูลทางลักษณะทางกายภาพ อาทิเช่น ใบหน้า นิ้วมือ ม่านตา รวมไปถึงลักษณะพฤติกรรม เช่น การเซ็นชื่อ การเดิน เสียง จังหวะการพิมพ์ เป็นต้น เทคโนโลยี ระบบ Biometric Authentication ที่มีการผลิตขึ้นมาเพื่อที่จะเป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์ยืนยันตัวตน เพื่อที่จะเข้าถึงข้อมูลที่มีความสำคัญ หรือเป็นความลับ ได้อย่างปลอดภัย เพราะ Biometric Authentication เป็นระบบการตรวจสอบที่มีความละเอียดอ่อน จึงทำให้มีระบบความปลอดภัยอยู่ในระดับสูง เป็นระบบที่สามารถใช้งานได้ง่าย สะดวกสบาย และมีความรวดเร็ว 

Biometric มีบทบาทต่อการรักษาความปลอดภัยอย่างไร

ทำไมเทคโนโลยี Biometric Authentication จึงมีบทบาทต่อระบบรักษาความปลอดภัย เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ให้ความสะดวกสบายด้านการยืนยันตัวตนได้อย่างยอดเยี่ยม ดีกว่าระบบอื่นๆ เช่น การสแกนบัตร การตอกบัตร เป็นต้น จึงทำให้มีความปลอดภัยที่ดีกว่า และรักษาความเป็นส่วนตัวได้ดี มีความสะดวกรวดเร็ว 

ระบบ Biometric ที่นำมาใช้งานการรักษาความปลอดภัย

1. ระบบสแกนนิ้ว

รู้จักกับเทคโนโลยี Biometric Authentication

ระบบสแกนนิ้ว เป็นระบบที่มีการพัฒนาขึ้นมาด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ระบบที่มีการใช้ลายนิ้วมือของบุคคล เพื่อที่จะเป็นตัวยืนยันตัวตน ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งระบบ Biometric ที่นิยมใช้กันเป็นอย่างมาก อาทิเช่น การเข้าออกอาคาร รถยนต์ สมาร์ตโฟน ซึ่งแต่ละเครื่องสแกนลายนิ้วมือ ก็จะมีความแตกต่างกันออกไป รวมถึงมีราคาที่ไม่แพงจนเกินไป

2. ระบบสแกนใบหน้า

รู้จักกับเทคโนโลยี Biometric Authentication

ระบบสแกนใบหน้า ระบบ Biometric Authentication ได้มีการนำกายวิภาคของใบหน้า ที่เป็นเอกลักษณ์แต่ละบุคคลเพื่อนำมายืนยัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งระบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่จะมีการนำมาใช้ในสมาร์ตโฟน จนตลอดรวมไปถึงการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต

3. ระบบสแกนม่านตา

รู้จักกับเทคโนโลยี Biometric Authentication

ระบบสแกนม่านตา ระบบ Biometric ที่ได้มีการนำม่านตา หรือจอประสาทตา มาใช้ รูปแบบเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล เพื่อนำมาเป็นตัวช่วยยืนยันตัวตน เรียกได้ว่าเป็นวิธีการใช้งานที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากจะต้องใช้กล้องที่สามารถมองเห็นได้ถึงอินฟราเรด และจะต้องเป็นกล้องที่ก่อให้เกิดอันตรายกับสายตาได้น้อย แต่เป็นระบบที่มีความแม่นยำ จึงนำไปใช้มากในสถานที่ที่ต้องการความปลอดภัยระดับสูง

4. ระบบจดจำเสียง

รู้จักกับเทคโนโลยี Biometric Authentication

ระบบจดจำเสียง เป็นระบบที่มีการใช้ระดับน้ำเสียง ระดับเสียง และความถี่ของเสียง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเพื่อนำไปตรวจสอบตัวตน ซึ่งเป็นระบบ Biometric ที่มีการใช้ในการยืนยันตัวโดยคนส่วนมาก มักจะมีการใช้ในกรณีที่ได้มีการเข้าไปติดต่อศูนย์บริการลูกค้า เช่น ธนาคาร เป็นต้น

สรุปเกี่ยวกับเทคโนโลยี Biometric กับการรักษาความปลอดภัย

หลายท่านก็คงจะเข้าใจแล้วว่า ระบบ Biometric Authentication เป็นระบบที่มีการพัฒนาขึ้นมา เพื่อช่วยเป็นการยืนยันตัวตนที่มีความแม่นยำ มีความปลอดภัย ตอบโจทย์ทุกองค์กรได้อย่างดีเยี่ยม ดังนั้นก็ควรเลือกอุปกรณ์ เพื่อความปลอดภัยของบุคลากร และการเข้าถึงของข้อมูลต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพในการใช้งานให้มากที่สุด หากองค์กรไหน ที่ต้องการคำปรึกษา เกี่ยวกับ ระบบรักษาความปลอดภัย, ระบบสแกนใบหน้า และระบบยืนยันตัวตน Biometric ทาง AEG ยินดีให้คำปรึกษา บริการด้านระบบรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจร มีทั้งระบบสแกนนิ้ว สแกนใบหน้า และสแกนเส้นเลือด ให้เลือกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมตอบโจทย์ทุกการใช้งานด้วยศูนย์ให้บริการด้านความปลอดภัยตลอด 24 ชม

CTA - AEG Blog on website
CTA - AEG Blog Website (3)
CTA - AEG Blog Website (5)

ติดตามหัวข้ออื่น ๆ

ทำร้านทองในห้าง มีสิ่งที่ต้องระวังมากกว่าร้านทองทั่วไปถึง 2 เท่า

ทำร้านทองในห้าง มีสิ่งที่ต้องระวังมากกว่าร้านทองทั่วไปถึง 2 เท่า

By admin.aeginc | 25 กันยายน 2023 | ข่าวสารและอัปเดท
Read More
3.1 เปิดประวัติสมาคมค้าทอง

เปิดประวัติสมาคมค้าทอง ผู้พัฒนาตลาดทองคำของไทย

By admin.aeginc | 2 ตุลาคม 2024 | ข่าวสารและอัปเดท
Read More
วิธีดูเพชรแท้เพชรเทียมด้วยตัวเอง

 วิธีดูเพชรแท้เพชรเทียมด้วยตัวเอง

By admin.aeginc | 25 ธันวาคม 2023 | ประกันภัย
Read More