EN | TH | CN

ชวนรู้จักถังดับเพลิงมีกี่ชนิด ต้องใช้อย่างไรให้ถูกต้อง

ชวนรู้จักถังดับเพลิงมีกี่ชนิด

เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการระงับเหตุให้ทันท่วงที นอกจากสัญญาณเตือนภัยที่จะแจ้งเตือนให้ทราบว่าเกิดเหตุเพลิงไหม้แล้ว การทำความรู้จักว่าถังดับเพลิงมีกี่ประเภท และวิธีการใช้งานที่ถูกต้องจึงเป็นความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับทุกคน ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือในสถานประกอบการ การมีความรู้เกี่ยวกับถังดับเพลิงมีกี่ชนิดและการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของเพลิงไหม้จะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้  

ประเภทของไฟที่ควรรู้

เพื่อให้เข้าใจการเลือกใช้ถังดับเพลิงได้อย่างถูกต้อง เราต้องเริ่มจากการทำความรู้จักกับประเภทของไฟก่อน โดยถังดับเพลิงมีกี่ชนิดนั้นจะสัมพันธ์กับประเภทของไฟที่ต้องดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก ดังนี้

  • เพลิงไหม้ประเภท A (Ordinary Combustibles) เป็นไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดาที่พบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น ไม้ กระดาษ ผ้า พลาสติก และขยะทั่วไป วัสดุเหล่านี้มักพบได้ตามอาคารบ้านเรือน สำนักงาน และห้างสรรพสินค้า การดับไฟประเภทนี้สามารถใช้น้ำได้โดยตรง
  • เพลิงไหม้ประเภท B (Flammable Liquids) เป็นไฟที่เกิดจากของเหลวติดไฟและก๊าซไวไฟ เช่น น้ำมันดิบ น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าดและสีไวไฟ มักพบในปั๊มน้ำมันและโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง การดับไฟประเภทนี้ต้องใช้วิธีตัดออกซิเจน
  • เพลิงไหม้ประเภท C (Electrical Equipment) เป็นไฟที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลเวียน ความร้อนสะสมจากการใช้งานหรือการลัดวงจรอาจนำไปสู่เพลิงไหม้ได้ สิ่งสำคัญคือต้องตัดกระแสไฟฟ้าก่อนทำการดับเพลิงทุกครั้ง
  • เพลิงไหม้ประเภท D (Combustible Metals) เป็นไฟที่เกิดจากโลหะติดไฟ เช่น ไทเทเนียม อะลูมิเนียม โพแทสเซียมและแมกนีเซียม มักพบในห้องปฏิบัติการและโรงงานอุตสาหกรรมโลหะ ไม่สามารถใช้น้ำในการดับไฟประเภทนี้ได้
  • เพลิงไหม้ประเภท K (Combustible Cooking) เป็นไฟที่เกิดจากน้ำมันทำอาหาร ไขมันสัตว์ และของเหลวที่ใช้ในการประกอบอาหาร พบได้ในครัวของร้านอาหาร โรงแรมและสถานประกอบการด้านอาหาร  

ถังดับเพลิงมีกี่ชนิด แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร

ทั้งนี้ ในการรับมือกับเหตุเพลิงไหม้นั้น สามารถใช้ถังดับเพลิงได้ก็จริง แต่ถังดับเพลิงแต่ละชนิดก็ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการดับไฟแต่ละประเภท ดังนั้นการเลือกใช้ให้ถูกต้องจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดับเพลิงและความปลอดภัยของผู้ใช้งาน มาดูกันว่า ถังดับเพลิงมีกี่ชนิด แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร ดังนี้  

ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical Extinguishers)

ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงในการดับไฟหลายประเภท ภายในบรรจุผงเคมีแห้งและก๊าซไนโตรเจนที่มีคุณสมบัติในการระงับปฏิกิริยาเคมีของการเกิดเพลิงไหม้ เมื่อฉีดออกมา ผงเคมีจะฟุ้งกระจายคลุมบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ สามารถใช้ดับไฟได้ทั้งประเภท A, B และ C ด้วยราคาที่ไม่แพงและหาซื้อได้ง่าย ทำให้เหมาะสำหรับติดตั้งในอาคาร บ้านพัก และโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป ซึ่งโดยเฉพาะในส่วนของโรงงาน นอกจากการมีถังดับเพลิงแล้ว การทำประกันโรงงานก็เป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญในการบริหารความเสี่ยง หากเกิดเพลิงไหม้ขึ้นในอนาคต 

ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย HCFC-123 (Halotron Extinguishers) 

ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหยเป็นนวัตกรรมที่ทันสมัย บรรจุสารดับเพลิงที่มีความเย็นจัด เมื่อฉีดออกมาจะระเหยกลายเป็นไอ ช่วยกำจัดความร้อนและขัดขวางการเผาไหม้ของออกซิเจน โดยไม่ทิ้งคราบสกปรกหลังการใช้งาน ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า สามารถใช้ดับไฟได้ทั้งประเภท A, B และ C เหมาะอย่างยิ่งสำหรับห้องคอมพิวเตอร์ ห้องเซิร์ฟเวอร์ และพื้นที่ที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มูลค่าสูง 

ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาโฟม (Foam Extinguishers)

ถังดับเพลิงชนิดโฟมบรรจุน้ำยา AR AFFF ที่เมื่อฉีดออกมาจะก่อตัวเป็นฟองโฟมคลุมผิวเชื้อเพลิง ช่วยตัดออกซิเจนและลดความร้อน เหมาะสำหรับดับไฟประเภท A และ B โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงและสารระเหยติดไฟ ข้อควรระวังคือไม่สามารถใช้กับไฟประเภท C เนื่องจากโฟมเป็นสื่อนำไฟฟ้า 

ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide (CO2) Extinguishers) 

ถังดับเพลิงประเภทนี้บรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เมื่อฉีดออกมาจะกลายเป็นไอเย็นจัดคล้ายน้ำแข็งแห้ง ช่วยลดความร้อนและดับไฟได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ทิ้งคราบสกปรก เหมาะสำหรับดับไฟประเภท B และ C ใช้ได้ดีในโรงงานที่มีสายการผลิตขนาดใหญ่ โรงอาหาร และห้องเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  

ถังดับเพลิงชนิดน้ำ (Water Extinguishers) 

ถังดับเพลิงสูตรน้ำเป็นนวัตกรรมใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาให้สามารถดับไฟได้หลากหลายประเภท บรรจุน้ำบริสุทธิ์และน้ำยา PurePlus ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการดึงความร้อนออกจากเชื้อเพลิงได้รวดเร็วกว่าน้ำธรรมดา สามารถดับไฟได้ทั้งประเภท A, B, C และ K โดยไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า เหมาะสำหรับติดตั้งในอาคารสำนักงาน บ้านพัก โรงแรม และโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป  

ถังดับเพลิงชนิด Wet Chemical Class K 

ถังดับเพลิงชนิดนี้บรรจุสาร Potassium Acetate ออกแบบมาเฉพาะสำหรับดับไฟประเภท K ที่เกิดจากน้ำมันประกอบอาหารและไขมันสัตว์ เหมาะสำหรับติดตั้งในครัวของร้านอาหาร โรงแรม และสถานประกอบการด้านอาหาร 

สีของถังดับเพลิงต่างกันอย่างไร 

นอกจาก จะต้องทราบว่าถังดับเพลิงมีกี่ประเภทแล้ว หลาย ๆ คนคงเคยเห็นสีสันที่หลากหลายของถังดับเพลิงกันแน่ ๆ แต่สีเหล่านั้นไม่ได้เป็นเพียงการออกแบบเพื่อความสวยงาม แต่เป็นการบ่งบอกประเภทและจำแนกความเหมาะสมในการใช้งาน โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้ 

สีของถังดับเพลิง

  • ถังดับเพลิงสีแดง เป็นถังดับเพลิงผงเคมีแห้งและคาร์บอนไดออกไซด์ พบได้ทั่วไปตามอาคารและโรงงาน
  • ถังดับเพลิงสีเขียว เป็นถังดับเพลิงน้ำยาเหลวระเหย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • ถังดับเพลิงสีน้ำเงินหรือฟ้า เป็นถังดับเพลิงสูตรน้ำหรือละอองน้ำแรงดันต่ำ เหมาะสำหรับอาคารสำนักงานและบ้านพัก
  • ถังดับเพลิงสีเงินหรือขาว สีเงินเป็นถังดับเพลิงโฟม ใช้ในโรงงานและปั๊มน้ำมัน ส่วนสีขาวบรรจุสาร Potassium
  • ถังดับเพลิงสีเหลือง เป็นถังดับเพลิงชนิดฮาโลตรอน แม้จะมีประสิทธิภาพสูงแต่ปัจจุบันถูกยกเลิกการใช้งานเนื่องจากมีผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ 

ก่อนใช้งานถังดับเพลิงต้องตรวจเช็กอะไรบ้าง

สิ่งสำคัญที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ คือการตรวจสอบความพร้อมของถังดับเพลิงก่อนใช้งาน โดยควรทำอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าถังดับเพลิงจะสามารถใช้งานได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยมีจุดที่ต้องตรวจสอบดังนี้

  1. ตรวจสอบเข็มมาตรวัด (Pressure Gauge) เข็มต้องชี้อยู่ในช่องสีเขียว หากเข็มเอียงไปทางซ้าย แสดงว่าแรงดันต่ำ ต้องรีบนำไปเติมแรงดันทันที และที่กระจกมาตรวัดต้องไม่แตกหรือไม่เป็นฝ้า
  2. ตรวจสอบสายฉีดและหัวฉีด ต้องไม่มีผงอุดตัน สายต้องไม่แตกหรือเสื่อมสภาพ ข้อต่อต้องแน่นหนา ไม่หลวม 
  3. ตรวจสอบสภาพตัวถัง ไม่มีรอยบุบ บวมหรือแตกร้าว ไม่มีสนิม สติกเกอร์และฉลากต้องอ่านได้ชัดเจน 
  4. ตรวจสอบอุปกรณ์ความปลอดภัย สลักนิรภัยต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ กระดูกงูและซีลความปลอดภัยต้องไม่ขาดหรือชำรุด 
  5. ตรวจสอบอายุการใช้งาน ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง จะมีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี ถังดับเพลิงคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำยาเหลวระเหย จะมีอายุการใช้งานประมาณ 10 ปี 

ตรวจเช็กถังดับเพลิง

ความสำคัญของถังดับเพลิง

ถังดับเพลิงถือเป็นอุปกรณ์ด่านแรกในการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่เป็นข้อกำหนดตามกฎหมายที่อาคาร สถานประกอบการและโรงงานต้องมีติดตั้งไว้เท่านั้น แต่ยังเป็นอุปกรณ์ที่สามารถช่วยลดความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในช่วงเวลาแรกของการเกิดเหตุ การมีถังดับเพลิงที่เหมาะสมและพร้อมใช้งานจึงเป็นการลงทุนด้านความปลอดภัยที่คุ้มค่าและจำเป็นสำหรับทุกสถานที่ นอกจากนี้ หากต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ว่า ประกันอัคคีภัยที่ไหนดีที่จะเหมาะกับความต้องการของคุณ 

สรุป 

จะเห็นได้ว่าการเลือกใช้ถังดับเพลิงให้เหมาะสมกับประเภทของเพลิงไหม้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากรู้ว่าถังดับเพลิงมีกี่ชนิด และแต่ละชนิดเหมาะกับการใช้งานในสถานการณ์ไหนบ้างแล้ว การติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยในโรงงานที่ครบวงจรก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบความพร้อมในการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ เพราะถังดับเพลิงที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานจะช่วยให้เราสามารถรับมือกับเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างทันท่วงที ลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

(Final)AE

CTA - AEG Blog on website
CTA - AEG Blog Website (3)  CTA - AEG Blog Website (5)

 

 

ติดตามหัวข้ออื่น ๆ

1 รวมจุดเก็บของมีค่าสุดแหวกที่ช่วยป้องกันการโจรกรรมได้

รวมจุดเก็บของมีค่าสุดแหวกที่ช่วยป้องกันการโจรกรรมได้

By admin.aeginc | 1 เมษายน 2024 | ประกันภัย
Read More
1 มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน 4 ประการที่ผู้ประกอบการต้องรู้

รวม 5 เทคนิคเพิ่มความปลอดภัยในโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ

By admin.aeginc | 3 ตุลาคม 2022 | ระบบรักษาความปลอดภัย
Read More
สัญญาณกันขโมย ทำงานได้อย่างไรเมื่อไฟดับ

สัญญาณกันขโมย ทำงานได้อย่างไรเมื่อไฟดับ

By admin.aeginc | 21 เมษายน 2025 | ข่าวสารและอัปเดท
Read More